7 ปัญหาที่ นักธุรกิจ ออนไลน์มืออาชีพ ต้องวิเคราะห์ให้เป็น
ในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีก้าวไกลไม่หยุดยั้ง และทำให้ธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนรูปแบบให้มันมีมากขึ้น จากแต่เดิมีหน้าร้าน ก็ทยอยกันเปิดร้านแบบออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใดก็ตาม ซึ่งทำให้สะดวกทั้งลูกค้าเองและตัวผู้ประกอบการ แต่มันก็ทำให้มีธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายหลายรูปแบบเช่นกัน ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องพบเห็นหน้ากัน ก็สามารถทำธุรกิจกันได้โดยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แต่การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ นักธุรกิจออนไลน์ต้องพบเจอปัญหาอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบค่ะ
7 ปัญหาที่ นักธุรกิจ ออนไลน์มืออาชีพ ต้องวิเคราะห์ให้เป็น
1.ปัญหาที่คู่แข่งทางธุรกิจไล่ตามเราทัน
หากเราเป็นผู้นำทางธุรกิจ แต่วันใดที่คู่แข่งทางธุรกิจไล่ตามเราทันสามารถขอส่วนแบ่งด้านการตลาด หรือแย่งชิงกลุ่มลูกค้าของเราไปได้ ต้องรีบวิเคราะห์หรือหาสาเหตุให้ได้ว่าเราบริหารธุรกิจผิดพลาดด้านใดบ้าง ซึ่งในโลกแห่งการทำธุรกิจย่อมเต็มไปด้วยคู่แข่งอยู่แล้ว โดยเฉพาะคู่แข่งที่เป็นผู้ขายของออนไลน์ ทั้งคู่แข่งที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าเหมือนกับคุณ หรือแม้กระทั่งคู่แข่งที่ผลิตสินค้าต่างจากคุณ ล้วนสามารถลงแข่งขันในสนามเดียวกันได้ ดังนั้นหาก นักธุรกิจ อย่างคุณอยากเป็นผู้อยู่รอด ต้องมีการวิเคราะห์คู่แข่งเป็นอย่างดี หรือไม่คุณก็ต้องสามารถสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจของคุณเองทางแก้ปัญหา
คุณจะต้องทำการวิเคราะห์และศึกษาทั้งการตลาดและศึกษาคู่แข่งอย่างลึกซึ้ง และต้องสามารถสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้ธุรกิจของคุณเฉิดฉายออกมาได้ ซึ่งกลยุทธ์ทางกาารตลาดที่สามารถใช้ได้นั้น มีดังนี้ 1.ทำสินค้าของคุณให้แตกต่างจากคู่แข่ง หรือถ้าไม่ได้ก็ลองหาจุดเด่นของสินค้าหรือบริการของคุณเองที่ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง ซึ่งกลยุทธนี้สามารถใช้ในระยะยาวได้เลยทีเดียว 2.ขายวิธีแก้ปัญหาให้ลูกค้า ไม่ใช่ที่สินค้า 3.ตั้งราคาตามคุณค่าของสินค้าของเรา ไม่ใช่ราคาของสินค้าคู่แข่ง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังต้องศึกษาตลาดผู้บริโภค ดูแนวโน้มความต้องการสินค้าในธุรกิจของคุณ อะไรที่ล้าหลังก็ควรโละออกไปและหาสินค้าที่กำลังเป็นที่ต้องการมาขายแทน พร้อมให้การบริการที่เหนือกว่า เป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้คุณนำหน้าคู่แข่งได้เลยทีเดียว
2.รักษามาตรฐานและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
“การเป็นแชมป์ว่ายากแล้ว แต่การรักษาแชมป์นั้นยากยิ่งกว่า” ประโยคยังใช้ได้กับการบริหารธุรกิจ ถึงแม้จะเป็นผู้นำด้านการตลาด สินค้ายังขายดีและขายได้ ก็ต้องหมั่นวิเคราะห์เพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในทุกๆด้าน ถ้าให้เปรียบการรักษามาตรฐานที่ดีมาตลอดและยึดถือมาอย่างยาวนาน ก็ต้องเป็นโตโยต้า เพราะโตโยต้านั้นใช้หลักการ ที่ชื่อว่าKAIZEN (ไค-เซน) คือภาษาญี่ปุ่นคำว่า 改善 ซึ่งแปลว่า “การปรับปรุง (Improvement)” โดยคำนี้มาจากคำว่า 改 – Kai ที่แปลว่า “การเปลี่ยนแปลง” และ 善 – Zen ที่แปลว่า “ดี” แนวคิด Kaizen นี้ก็เลยหมายถึงหลักในการปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหลักการนี้กลายเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญที่คนญี่ปุ่นยึดถือมายาวนานนั่นเอง เรามาลองดูกันว่าหลักการสร้างKAIZEN ให้เกิดในองค์กรนั้นมีอะไรบ้าง
2.1.หาให้พบ จุดที่ควรปรับปรุง = หากมี “สิ่งที่ไม่จำเป็น” ที่เราสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็ย่อมจะมี “สิ่งที่ไม่จำเป็น” ที่เราไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่นกัน
2.2.วิเคราะห์ปัจจุบันให้ลึกซึ้งและถ่องแท้ = ทุกครั้งที่หาจุดที่เราควรปรับปรุงและพัฒนาเจอแล้ว ให้ทำความเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นให้ละเอียดรอบคอบมากที่สุด รวมถึงต้องศึกษาข้อมูลให้ถูกต้องแม่นยำด้วย โดยที่หลีกเลี่ยงการคาดคะเนหรือนำความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่ได้เกิดจากการศึกษาข้อมูลอย่างแท้จริงมาปะปน ซึ่งมันอาจจะทำให้การวิเคราะห์ตลอดจนสรุปข้อมูลคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ อาจส่งผลให้การแก้ไขหรือพัฒนาไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ไม่เกิดผลิตภาพในการทำงานในที่สุด
2.3.หาไอเดียใหม่ๆอยู่เสมอๆ = ขั้นตอนนี้คือกระบวนการในการหาไอเดียตลอดจนแนวความคิดใหม่ๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ย่ำแย่ที่กำลังเกิดขึ้น
2.4.นำแผนการปรับปรุงนั้นไปใช้จริง = ต้องมีการขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายและทุกคนในองค์กรที่เกี่ยวข้อง หากเราตัดสินใจนำแผนการปรับปรุงและพัฒนาไปปรับใช้โดยที่ทุกฝ่ายยังไม่รับรู้ หรือยังไม่ได้รับความร่วมมือ ตลอดจนยังไม่ถูกเห็นด้วยอย่างครบถ้วนแล้ว แผนการปรับปรุงที่วางไว้ก็อาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้
2.5.ตรวจสอบและประเมินผลที่ใช้ไปแล้ว = ควรมีการตรวจสอบหลังการนำไปใช้ด้วย การตรวจสอบนี้ไม่ใช่การจับผิดแต่เป็นการหาข้อบกพร่องต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันเวลา ตลอดจนหาวิธีรับมือได้ทันท่วงที
3.วิเคราะห์ปัญหาภายใน
ปัญหาภายในที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น ความขัดแย้งระหว่างพนักงาน ความรู้ความสามารถของพนักงาน ปัญหาทุการทุจริต เพราะยิ่งคนเยอะก็ยิ่งเรื่องเยอะ ก็ยิ่งต้องมีเรื่องที่ต้อมีปากเสียงกันบ้าง เพราะต้องมีการทำงานกับคนที่แตกต่างทั้ง อายุ วุฒิภาวะหรือแม้กระทั่งความคิด แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นคนที่เป็นหัวหน้าก็ต้องเป็นตัวกลางในการแก้ไขความขัดแย้ง และผสานรอยร้าวของลูกทีมทั้ง 2 ฝั่ง เพราะบรรยากาศในการทำงานร่วมกันของคนในทีมนั้นสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมาก จึงควรมีการแก้ปัญหาเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้
1.รับฟังปัญหาอย่างใจเย็นและเป็นมืออาชีพ = เจ้าของะุรกิจหรือแม้กระทั่งหัวหน้างาน ต้องคอยรับฟังเหตุผลของลูกน้องอย่างใจเย็น มื่อรู้แล้วให้ค่อย ๆ คิดแก้ปัญหาอย่างมืออาชีพด้วยความเป็นกลาง และแสดงออกให้ลูกทีมทั้งสองฝ่ายรับรู้ด้วย
2.เรียกแต่ละฝ่ายมาคุยกันแบบส่วนตัว = การเรียกคุยส่วนตัวแบบนี้ จะทำให้พนักงานนั้นคุยได้แบบเปิดใจ พูดอย่างจริงใจได้มากขึ้น และไม่สร้างกำแพงขึ้นมาเพราะไม่มีอีกฝ่ายฟังอยู่ หน้าที่ของหัวหน้าหรือนักธุรกิจอย่างเราคือการหาคำตอบว่าอะไรคือแรงผลักดันที่ทำให้เกิดปัญหาและพนักงานแต่ละฝ่ายนั้นต้องการอะไร
3.หาวิธีแก้ปัญหาที่จะส่งผลดีต่อตัวบริษัท = ถึงแม้ว่าจะมีเรื่องขัดแย้งหรือมีปัญหา แต่ตัวงานนั้นก็ต้องดำเนินการต่อไป คุณจึงจำเป็นทีจะต้องหาทางแก้ไขให้ได้เร็ยวที่สุด เพื่อไม่ให้พนักงานนั้นคิดในแง่ลบต่อองค์กรด้วย
4.วิเคราะห์ปัญหาการทำงานไม่เป็นไปตามแผน
ปัญหาการทำงานบางครั้งมีการวางแผนและบริหารจัดการอย่างดี แต่ทำไมผลงานไม่เป็นไปตามแผน หรือผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นตามที่ต้อการ ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องวิเคราะห์อย่างเร่งด่วน ซึ่งมีดังนี้
SELF-MOTIVATION
เมื่อคุณทำงานผิดพลาดหรือไม่ตรงตามแผนที่วางเอาไว้ คุณไม่ควรจมอยู่กับความทุกข์หรืออดีตที่ผิดผ่านที่ผ่านมาเราต้องรู้จักนำความผิดพลาดในอดีตมาแก้ไขปัจจุบันให้ดีขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกหรือเพื่อให้ทำงานได้ตามแผนที่วางไว้
IDENTIFY ROOT CAUSE
เมื่อเราทำงานไม่ได้ตรงตามแผน ทีมงานก็ต้องมานั่งประชุมร่วมกันถกปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเหตุใดงานถึงไม่ตรงตามแผนที่วางไว้และช่วยกันแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้งานนั้นเป็นไปตามเป้าหมายทุกคนต้องช่วยกันไม่ว่าหน้าที่ของเราจะมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่องาน
ACTION PLAN & IMPLEMEMTATION
เมื่อประชุมหาข้อสรุปได้แล้ว เราก็ต้องลงมือแก้ไขอย่างจริงจังโดย นำแผนที่วางเอาไว้มาลงมือทำและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างตรงจุด
EXECUTION AND FOLLOW UP
เมื่อทำงานตามแผนใหม่ที่วางไว้และกำหนดระยะเวลาที่งานควรเสร็จให้แน่นอนควรเผื่อเวลาสำหรับความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับงานเอาไว้ด้วยเพื่อให้เรามีเวลาแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที
5.วิเคราะห์ว่าอะไรคือจุดอ่อนที่ทำให้ธุรกิจนิ่งอยู่กับที่
การทำธุรกิจเมื่อบริหารจัดการอย่างดี มียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าช่วงใดยอดขายไม่เพิ่มขึ้นหรือหยุดชะงัก ปัญหานี้ต้องรีบวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขทันที ก็ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนน้อยๆ แต่ได้กำไรมาก นั่นก็คือการทำธุรกิจผ่านสื่อsocial media เพราะตัวเลขของลูกค้าที่หันมาใช้โทรศัพท์มือถือ Smart Phone หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีมากขึ้นทำให้การทำตลาดที่มีต้นทุนสูง ในระบบเดิมๆ อาจไม่ตอบโจทย์แล้ว ถ้าหากผู้ประกอบการทำได้ ถูกจุด ถูกทาง ก็จะทำให้สามารถเพิ่มยอดสินค้าและบริการได้ แม้ในยามที่เศรษฐกิจฝืดเคือง
หรืออาจจะเป็นการขายให้ถูกที่ถูกช่วงเวลา เพราะบางครั้งการขายสินค้าที่ไม่เหมาะกับเวลาหรือสภาวะเศรษฐกิจ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจสะดุดได้ อาทิ หากเกิดสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ผู้ประกอบการอาจจะหันมาทำสินค้าประเภท ประหยัดเงินในกระเป๋าของลูกค้ามากขึ้น และลดสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยลง เพื่อให้เข้ากับภาวะโดยภาพรวม และหากเศรษฐกิจกลับมาดีอีกครั้ง จึงค่อยปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับช่วงเวลานั้นๆ
6.วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดเคยเกิดขึ้นเป็นประจำ
ปัญหาบางอย่างเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ ทำให้เกิดขึ้นบ่อยๆหากไม่ทำการวิเคราะห์ว่าอะไรคือปัญหาด้านกระบวนการ ก็จะทำให้เสียเวลาเพราะการทำงานต้องสะดุดเป็นระยะ เพราะการเรียนรู้ปัญหาตั้งแต่ต้นถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับกิจการ เพราะไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบและเพียบพร้อมเหมือนบะหมี่สำเร็จรูป
แต่สำหรับบริษัทธุรกิจที่เพิ่งจะก่อตั้งใหม่ๆ ดูจะเป็นประเด็นปัญหาที่สร้างความหนักอกหนักใจให้ผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก อาจด้วยเพราะความเป็นมือใหม่ขาดประสบการณ์ในการแก้ปัญหาและองค์ประกอบทางด้านอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้เอื้ออำนวยให้เกิดความได้เปรียบ จึงทำให้บริษัทเพิ่งก่อตั้งใหม่มักจะไปไม่ค่อยรอด
ปัญหาคือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในการทำธุรกิจ แต่จะน่ากลัวมากยิ่งขึ้นหากเกิดกับธุรกิจที่เพิ่งจะก่อตั้ง การเรียนรู้ปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงจึงเป็นทางออกสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเอาชนะและฟันฝ่าอุปสรรคดังกล่าวได้
7.วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง
การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง เพื่อให้รู้ว่าจุดไหนบ้างที่ควรปรับปรุงแก้ไข หรือควรนำมาเป็นกลยุทธ์เพื่อใช้สู้กับคู่แข่งด้านการตลาด โดยคุณอาจจะใช้เครื่องมือทางธุรกิจ คือ SWOT Analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ 4 ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ มี
- Strengths (S) จุดแข็งขององค์กร เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต
- Weaknesses (W) จุดอ่อนขององค์กร คือปัจจัยที่องค์กรเป็นรองต่อคู่แข่ง เช่น จุดอ่อนด้านปริมาณบุคลากร ซึ่งถือเป็นข้อด้อย
- Opportunities (O) โอกาสทางธุรกิจ เป็นข้อดี
- Threats (T) ปัจจัยเสี่ยงทางธุรกิจ เป็นข้อด้อย
ก็หมดไปแล้วสำหรับหัวข้อ ปัญหาที่ นักธุรกิจ ออนไลน์มืออาชีพ ต้องวิเคราะห์ให้เป็น ใครที่ทำธุรกิจออนไลน์แล้วยังไม่ไป ดูแล้วล้าหลัง ลองนำทั้ง 7 ข้อนี้ไปวิเคราะห์นะคะ อาจทำให้พบจุดอ่อนหรือพบแนวทางที่สามารถพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย
ติดต่อได้ที่
Call Center 02-030-9988
Line ID : @borntras (อย่าลืมพิมพ์@นะคะ)
Facebook : www.facebook.com/borntras
Website : www.FactoryCosmetic.com
เปิดทำการจันทร์ – เสาร์ หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
บิวตี้เวลล์ เอ็กซ์เพิร์ท, Beautywell Expert, โรงงานรับผลิตครีม, โรงงานรับผลิตอาหารเสริม, โรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง, รับผลิตครีม, รับผลิตอาหารเสริม, รับผลิตเครื่องสำอาง, โรงงานผลิตครีม, โรงงานผลิตอาหารเสริม, โรงงานผลิตเครื่องสําอาง, รับสร้างแบรนด์ครีม, รับสร้างแบรนด์อาหารเสริม, รับสร้างแบรนด์เครื่องสำอาง, ผลิตครีม, ผลิตอาหารเสริม, ผลิตเครื่องสำอาง, สร้างแบรนด์ครีม, สร้างแบรนด์อาหารเสริม, สร้างแบรนด์เครื่องสำอาง, ครีม, อาหารเสริม, เครื่องสำอาง, โรงงานครีมมาตรฐาน, ครีมมาตรฐาน